ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Indian rhododendron - Indian Rhododendron, Malabar Melastome [8]
- Indian rhododendron - Indian Rhododendron, Malabar Melastome [8]
Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Melastomataceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Melastoma malabathricum L. subsp. malabathricum
 
  ชื่อไทย โคลงเคลง
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำเปิ้น,ลำปี่ย่น(ลั้วะ), กุ่งสั่ง(เมี่ยน) ,ถั่วท้ง(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูงถึง 1-3 ม. กิ่งเป็นเหลี่ยม ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบหนาแน่น
ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 1.7-5 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม มีขนแข็งเอนทั้งสอนด้าน แต่เห็นชัดทางด้านล่าง โดยเฉพาะบนเส้นใบ มีเส้นใบออกจากโคน ใบไปจรดปลายใบ 3-5 เส้น ก้านใบยาว 0.5-2 ซม.
ดอก สีม่วง ออกเป็นช่อ มี 3-7 ดอก ตามปลายยอดและตามง่ามใบบนๆ ดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ พบน้อย ที่มี 4 หรือ 6 กลีบใบประดับบางครั้งใหญ่และเห็นชัด ยาวถึง 20 มม. ด้านนอกโดยเฉพาะบนเส้นกลางใบมีเกล็ดแบนราบ สีขาว หรือสีแดงเรื่อ ถ้วยรองดอกยาว 5-9 มม. ปกคลุมด้วยเกล็ดแบบเรียบ ยาว 1-3 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกัน ปลายแยกเป็นพูรูปใบหอก ยาว 5-13 มม. กลีบดอกสีม่วง ยาว 25-35(-40) มม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน บางครั้งพบ 8 หรือ 12 อัน มีรูปร่าง 2 แบบ เกสรเพศผู้ด้านนอกอับเรณูสีม่วง อับเรณูยาว 7-9(-14) มม. มีแกนอับเรณูยาว 4-8 มม. ส่วนอับเรณูด้านในยาว 5-6(-11) มม. สีเหลือง แกนอับเรณูไม่ยาวออกมามากนัก รังไข่ติดแน่นกับฐานดอก ที่ยอดปกคลุมด้วยขนแข็ง มี 5 ช่อง
ผล แห้งแตก ยาว 5-12 มม. เมื่อแก่แตกตามขวาง เนื้อนุ่ม สีม่วงดำ เมล็ด เล็ก [8]
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยง,เมี่ยน,ม้ง)
- ใบ ต้มกินแก้อาการปวดท้อง, เนื้อไม้ในลำต้นอ่อน รับประทานสดเป็นยาแก้ปวดท้องในเด็ก, ทั้งต้น เข้าสูตรยาบำรุงกำลัง(ลั้วะ)
ราก ใช้เข้ายาคลายเส้นร่วมกับพืชอีกหลายชนิด(กะเหรี่ยง)
ราก ต้มน้ำดื่มรักษาอาการปวดท้องที่เกิดจากอาการท้องเสีย(ม้ง)
- ในอินโดนีเซีย นิยมใช้กันมาก เป็นยาฝาดสมาน
ใบ น้ำต้ม หรือน้ำคั้นจากใบ ใช้แก้โรคท้องร่วง โรคบิด และโรคระดูขาว ใช้เป็นยากลั้วคอ หรือยาบ้วนปาก เพื่อแก้เชื้อราในช่องปาก หรือลำคอ รักษาแผลไหม้ ใช้ล้างแผลที่เป็นหนองเพื่อไม่ให้มีแผลเป็น ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้โรคโกโนเรีย
ราก ชาวเขาใช้เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตร [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง